หมวดที่ ๕ คณะกรรมการของสมาคม

คณะกรรมการของสมาคม

ข้อที่ 15. คณะกรรมการของสมาคม ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตาม

วัตถุประสงค์ของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกประกอบด้วย สมาชิกสามัญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 25 คน

เว้นแต่ที่ ประชุมใหญ่ครั้งนั้นๆ จะมีมติเป็นอย่างอื่น การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำด้วยวิธีลงคะแนนลับโดยให้ สมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญเสนอชื่อของสมาชิกสามัญ ซึ่งตนประสงค์จะให้เข้าสมัครรับเลือกตั้ง เป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหญ่ โดยมีสมาชิกสามัญอื่นรับรองไม่น้อยกว่า 2 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลง มติเลือกตั้งให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับ ได้เป็นกรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคแรก และตาม มติที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้นๆ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้น ให้ที่ ประชุมใหญ่ลงมติใหม่ เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับฉลาก

ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 1 คน อุปนายก ให้เว้นจำนวน อุปนายกสมาคมฯ ไว้เพื่อให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้ตัดสินใจ ว่าต้องการให้มีอุปนายกกี่ท่าน ในกรรมการ แต่ละชุด เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ ตำแหน่งละ 1 คน และตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ได้กำหนดหน้าที่ตามที่เห็นตามสมควร

คณะกรรมการของสมาคม อยู่ในตำแหน่งกรรมการได้คราวละ 4 ปี และให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ ชุดใหม่ขึ้นแทน ภายใน 180 วัน ภายใต้บังคับมาตรา 19 และ 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการไปแล้ว อาจได้รับเลือกตั้งและแต่งตั้งเป็นกรรมการ อีกก็ได้

 

ข้อที่ 16. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งในกรณีดังต่อไปนี้

(1)       ครบกำหนดออกตามวาระ

(2)       ลาออกโดยคณะกรรมการได้ลงมติอนุมัติแล้ว เว้นแต่การลาออกเฉพาะตำแหน่งตามข้อ17วรรค 3 ขาดจากสมาชิกภาพ

(3)       ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการ

(4)       เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์สั่งให้ออกตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติ สมาคมการค้า พ.ศ.2509 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 ในกรณีที่ผู้แทน สมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อที่ 10. ที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งตายหรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของ สมาชิกนั้น ผู้แทนคนใหม่ของสมาชิกรายนั้นๆ จะเข้าเป็นกรรมการแทนก็ได้

 

ข้อที่ 17. กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระคณะกรรมการอาจตั้ง

สมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งนี้ให้เป็นกรรมการอยู่ได้ ตามวาระของผู้ที่ตนแทน

กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ก่อนครบกำหนดออกตามวาระให้คณะกรรมการซึ่งพ้น จากตำแหน่งนั้น ดำเนินการจัดประชุมใหญ่สมาชิกเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนภายใน 180 วัน ในกรณีนี้ให้นำความในข้อที่ 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งตามวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของคณะกรรมการที่พ้นจาก ตำแหน่งไป

 

ข้อที่ 18. องค์การประชุมในการประชุมของคณะกรรมการ การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมี กรรมการ

มาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งนึงของจำนวนคณะกรรมการของทั้งหมดจึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่มีจำนวนกรรมการ ในคณะกรรมการน้อยกว่าครึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่เหลือ อยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรรมการเพิ่ม ขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกกันประชุมใหญ่ หรือกระทำกิจการอันสมควรทุกอย่างอันเป็นปกปักรักษา ประโยชน์ของสมาคมเท่านั้น

 

ข้อที่ 19. มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียง

ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคณะอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และหรือ ข้อบังคับนี้ให้ถือว่ามตินั้น ใช้บังคับมิได้

 

ข้อที่ 20. ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจ

ปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกหรือผู้อาวุโสปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะในการ ประชุมคราวนั้น

 

ข้อที่ 21. การประชุมคณะกรรมการ ให้มีการประชุมคณะกรรมการ อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง อนึ่ง ในกรณี

จำเป็นนายกสมาคมหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทน หรือกรรมการรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน จะเรียกประชุม พิเศษขึ้นก็ได้

ข้อที่ 22. การเข้ารับหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งของคณะกรรมการชุดใหม่ ให้คณะกรรมการ

ซึ่งพ้นจากตำแหน่งยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดสมุทรปราการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งและส่งมอบหน้าที่ให้กรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ นายทะเบียนสมาคมการค้าฯ รับจดทะเบียน

              ในกรณีที่นายทะเบียนสมาคมการค้า ยังมิได้รับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่และคณะกรรมการ ที่พ้นจากตำแหน่งยังมิได้ส่งมอบหน้าที่ตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจ หน้าที่บริหารกิจการของสมาคมต่อไป จนกว่านายทะเบียนสมาคมการค้าฯ จะรับจดทะเบียน คณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการชุดใหม่นั้นเข้ารับหน้าที่แล้ว

 

ข้อที่ 23. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ มีดังนี้

(1)       จัดดำเนินกิจการ และทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม

(2)       เลือกตั้งของคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการ

(3)       วางระเบียบการในการปฏิบัติงานของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์

(4)       เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งปวงในการทำการกิจการเฉพาะอย่างหรือพิจารณา เรื่องต่างๆ อันอยู่ใน ขอบเขตหน้าที่ของสมาคมพอให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย ที่ปรึกษาของคณะกรรมการและอนุกรรมการดังกล่าว จะแต่งตั้งจากกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมหรือบุคคลภายนอกก็ได้

 

ข้อที่ 24. อำนาจหน้าที่กรรมการตำแหน่งต่างๆ มีดังนั้น

(1)       นายกสมาคมมีหน้าที่อำนวยการ เพื่อให้การดำเนินการของสมาคมเป็นไปตามข้อบังคับและ ระเบียบการ ในการปฏิบัติงานของสมาคมเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ดำเนินกิจการของ สมาคมอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ตลอดจนในที่ประชุมใหญ่

(2)       อุปนายกมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายกสมาคมในกิจการทั้งปวง อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ นายกสมาคมและเป็นผู้ทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

(3)       เลขาธิการ มีหน้าที่ทำการโต้ตอบหนังสือเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ของสมาคมเป็นเลขานุการใน ประชุมคณะกรรมการ และที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้ มอบหมาย

(4)       เหรัญญิก มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของสมาคม ทำบัญชีการเงินเก็บรักษาและจ่ายพัสดุของ สมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้รับมอบหมาย

(5)       นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่าง ๆ อันมิใช่ทะเบียน เกี่ยวกับการเงินของสมาคมตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้รับมอบหมาย

(6)       ปฏิคมมีหน้าที่รักษาสำนักงานของสมาคม รักษาความเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยม จัดสถานที่ประชุม ดูแลต้อนรับ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้มอบหมาย

(7)       ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่เกี่ยวกับการเชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆ ของสมาคมตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจะได้มอบหมาย

ข้อที่ 25. ภายใต้บังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที่ 6 การประชุมใหญ่มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

 

 

Visitors: 47,835